ลองมาสำรวจกันว่าตนเองมีภาวะ หมดไฟในการทำงาน(Burn Out)รึเปล่า!!

ปีนี้ในเดือน พค.ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก
ได้ประกาศรวมเบิร์นเอ๊าต์(BurnOut) ไว้ในบัญชี
จำแนกโรคระหว่างชาติขององค์การอนามัยโลก
เป็นปรากฎการณ์ด้านการทำงานอาชีพ
เป็นกลุ่มอาการผลรวมจากความเครียดเรื้อรัง
และมิใช่โรคทางการแพทย์หรือความเจ็บป่วยใด

.
.
วันนี้เลยลองเอาแบบประเมินตนเองจากเมโยคลินิก
ซึ่งแผยแพร่ในปีที่แล้ว มาให้ลองประเมินตนเองกัน
เผื่อใครอาจจะวิตกกังวลว่าสุ่มเสี่ยงบ้างไหม
มีทั้งหมด 10 ข้อค่ะ
.
.
1. คุณต้องลากตนเองไปทำงาน หรือเริ่มต้น
ทำงานด้วยความยากลำบากหรือไม่
.
2. คุณกลายเป็นคนช่างติ ช่างวิจารณ์
ในการทำงานหรือไม่
.
3. คุณหงุดหงิดและไม่มีความอดทน
ต่อผู้ร่วมงาน
ลูกค้าหรือผู้มารับบริการหรือไม่
.
4. คุณขาดพลังที่จะสร้างผลผลิตอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
.
5. คุณพบว่ายากที่จะตั้งใจจดจ่อทำงานหรือไม่
.
6. คุณไม่มีความพึงพอใจเมื่องานสำเร็จหรือไม่
.
7. คุณรู้สึกว่างานมีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิม
หรือเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
.
8. คุณใช้อาหาร ยา บุหรี่หรือสุราเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
หรือเพื่อให้ไม่รู้สึกอะไรหรือไม่
.
9. การนอนหลับของคุณเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
.
10. คุณมีอาการปวดหัว ไม่สบายท้อง
ลำไส้แปรปรวนหรืออาการทางร่างกายอื่นๆ
ที่อธิบายมิได้หรือไม่
.
ขออนุญาตเสริมเองอีก 2 ข้อ
11. รู้สึกหมดพลังหรือหมดสิ้นเรี่ยวแรง
จนไม่อยากทำอะไรเลย
.
12. รู้สึกต่องานในแง่ลบหรือต่อต้าน
และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
.
หากใครมีอาการเหล่านี้ ลองหาหลายๆวิธี
เพื่อกำจัดอาการหมดไฟในการทำงาน(BurnOut)
ให้หมดไปกันดีกว่า
.
ติดตามวิธีการกำจัดอาการเหล่านี้ให้หมดไปในสัปดาห์ถัดไป
หากบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์ได้เลยค่ะ
.
#เพิ่มพลังใจปลุกไฟทำงาน
#EnergizeYourWork
#Energizer

 

อาจารย์อรพินท์  ธีระตระกูลชัย 
(Trainer Sunny)
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Soft Skill Trainer)

อาจารย์อรพินท์  ธีระตระกูลชัย 
(Trainer Sunny)

ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาด้านคนและทีมงาน
(Team Energized Trainer)

© Copyright 2018 All Rights Reserved. Design by Bright-Wisdom
© COPYRIGHT 2018-2024 เทรนเนอร์ซันนี่ – ALL RIGHTS RESERVED.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
facebook-squareyoutube-playenvelopecamera-videophone

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram