จะทำอย่างไร เมื่อเกิดอาการ หายใจไม่ค่อยออกขณะขับรถ?

เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง อาจจะยาวไปซักนิด
น่าจะมีข้อคิดอยู่หลายมุม
ซึ่งได้ขออนุญาตเจ้าของเรื่องเรียบร้อยแล้ว
หลังเลิกงานของเย็นวันหนึ่ง
ที่ฝนตกปรอยๆเม็ดใหญ่
ขณะขับรถกลับบ้านคนเดียว
ครูของฉันได้มีอาการหายใจไม่สะดวก

หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ
และมีอาการเหน็บชาที่มือขณะขับรถ
.
.
ครูของฉันเลยได้จอดรถข้างทาง บนทางด่วน
เพราะเกรงว่าขับต่อไปจะเกิดอันตราย
จึงลงจากรถ เพื่อไปโบกให้รถคันอื่นได้ช่วย
ซึ่งขณะนั้นฝนยังตกเม็ดใหญ่อยู่
โบกอยู่หลายคัน แต่ไม่มีคันไหนจอดลงมาช่วยเลย
อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงนั้นฝนกำลังตกด้วย
และครูของฉันจอดเลนขวาสุด
เลยอาจทำให้ไม่มีใครกล้าจอดลงมาช่วย
.
.
ครูของฉันจึงตัดสินใจ ขึ้นรถกลับไปอีกครั้ง
และฝืนขับต่อ จนเกือบถึงทางด่วนต่อที่สอง
เหลือบขวามือไปเห็นโรงพยาบาลรามาธิบดี
เลยพยายามจะลงทางด่วนตรงนั้น
เพื่อไปหาหมอที่รามา
แต่อาการก็ยังไม่หาย
แถมกำเริบหนักกว่าเดิม
ขับต่อไปไม่ไหว
จึงจอดชิดซ้ายก่อนถึงทางลงของทางด่วน
.
.
และครูก็ลงมาโบกรถเหมือนเดิม
เพื่อจะขอความช่วยเหลือ
ขณะนั้นมีรถของผู้หญิงท่านนึง
มาจอดข้างหน้า
และลงมาพูดคุยด้วย
อีกซักแปปก็มีรถของผู้ชาย
มาจอดข้างหลัง
และลงมาดูอาการของครูเช่นกัน
ตอนนั้นรถที่มาช่วยเหลือของผู้หญิงคันหน้า
ได้ทำการโทรเรียกรถทางหลวงมาช่วย
และนำตัวครูส่งโรงพยาบาลทันที
เพราะตอนนั้นทั้งครูและผู้หญิงคนนั้น
ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นอาการของโรคอะไร
ฟังดูแล้วคล้ายStroke
.
.
หลังจากตรวจเสร็จพบว่า
ครูของฉันเป็นโรค #Hyperventilation
เป็นภาวะที่คนเราหายใจลึกมากกว่าปกติ
ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในร่างกาย
มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเป็นการเสียสมดุลระหว่าง
การหายใจออกและเข้านั่นเอง
.
.
ย้อนกลับมาที่เหตุการณ์
ก่อนส่งตัวไปโรงพยาบาล
ตอนแรกครูจะให้ผู้ชายคันหลัง
เขาดูแลเรื่องรถ
และให้ผู้หญิงคันหน้าพาส่งโรงพยาบาล
ปรากฎว่าผู้หญิงคันหน้า
ไม่ไว้ใจผู้ชายคันหลัง
เลยอาสาดูแลรถให้จนกว่า
จะมีรถมาลากรถครูไป
และรอจนกว่าจะมีคนมา
รับตัวครูไปโรงพยาบาล
.
.
ครูเล่าให้ฟังว่า วินาทีนั้นต้องขอขอบคุณ
#ความดีที่เคยทำมาในอดีต
ที่ทำให้ครูได้ตัดสินใจถูก
และเจอคนดีเข้ามาช่วยได้ทันเวลา
เพราะครูได้ให้กุญแจรถกับผู้หญิงคันหน้าไปด้วย
ในนั้นยังมีข้าวของ ทรัพย์สินอื่นๆในรถอีก
.
.
ถ้ารอบสองที่ครูจอดรถ
แล้วไม่เจอคนดีๆแบบผู้หญิงคันหน้า
ก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์จะเป็นยังไงต่อไป
และพอตรวจพบโรคนี้
ทำให้ครูเปลี่ยนวิธีการหายใจใหม่
#และหาวิธีป้องกันตนเองมากขึ้น
ถ้าเกิดอาการแบบนี้อีก
อาทิ ตั้งค่าเบอร์โทรฉุกเฉินไว้ในมือถือ
เพื่อมีคนมาช่วยได้ทัน
หาคนมาขับรถแทนหรือใช้บริการรถแท๊กซี่
ไม่ใส่เสื้อผ้าขับเกินไป
และที่สำคัญลดความเครียดลง
.
.
สำหรับใครที่ยังไม่เป็นและ
#อยากรู้วิธีป้องกันไม่ให้โรคนี้มาเยือน
สามารถฝึกวิธีการหายใจด้วยท้อง
หาวิธีผ่อนคลายความเครียด
ฝึกคิดบวก
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หรือพูดคุยปรึกษาคนที่สนิทเวลาเครียดๆ
ร่างกายต้องการสมดุล
อะไรมากไปหรือน้อยไป คือไม่ดีหมด
.
.
จริงๆยังมีอีก เวลาจำกัด เล่าไว้เท่านี้ก่อนละกัน
ถ้าพวกเราเกิดอาการเหมือนครูของฉัน
พวกเราจะคิดและแก้จัดการปัญหานี้
เหมือนหรือต่างอย่างไรกันบ้างค่ะ
.
.
#EnergizeYourDecision
#ทำความดีเข้าไว้
#แก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างไร
#อาการที่มองไม่เห็น
#Energizer

อาจารย์อรพินท์  ธีระตระกูลชัย 
(Trainer Sunny)
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Soft Skill Trainer)

อาจารย์อรพินท์  ธีระตระกูลชัย 
(Trainer Sunny)

ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาด้านคนและทีมงาน
(Team Energized Trainer)

© Copyright 2018 All Rights Reserved. Design by Bright-Wisdom
© COPYRIGHT 2018-2024 เทรนเนอร์ซันนี่ – ALL RIGHTS RESERVED.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
facebook-squareyoutube-playenvelopecamera-videophone

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
linkedin facebook pinterest youtube rss twitter instagram facebook-blank rss-blank linkedin-blank pinterest youtube twitter instagram